วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

[BAD001] NC30 to CBR1000RR 2007 (Part 3)

จากความเดิมคราวที่แล้ว กล่าวถึงขั้นตอนการสรรหาวัสดุ เพื่อทดแทนของเดิมที่ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพไปแล้วส่วนหนึ่ง คราวนี้ก็มาถึงรูปลักษณ์ภายนอกของตัวรถอย่างแฟริ่งบ้าง รวมไปถึงวัสดุภายหลังการปรับสภาพอื่นๆ ส่วนความเดิมตอนที่แ้ล้วเป็นอย่างไร สามารถติดตามอ่านได้ที่นี่---------->

พูดถึงเรื่องวัสดุแฟริ่งที่ทางเราเลือกใช้ ทางเราเลือกใช้วัสดุ ABS คุณภาพดีทั้งคัน โดยคุณสมบัติของวัสดุ ABS นั้นจะแตกต่างจากพลาสติกทั่วไป เพราะเป็นพลาสติกที่มีความสมดุลทั้งความแข็ง และความเหนียว ทำให้พลาสติกมีคุณสมบัติทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ ABS ยังมีคุณสมบัติเด่นอีกหลายเรื่อง เช่น ทนต่อแรงเสียดสี คงสภาพรูปร่างได้ดี ทนความร้าน ทนสารเคมี มีช่วงอุณหภูมิใช้งานกว้าง (ตั้งแต่ -20 ํC จนถึง 80 ํC)

เริ่มต้นจากนำแฟริ่งทั้งชุดมาประกอบคร่าวๆ เพื่อดูว่าจะต้องมีการจับตำแหน่งทั้งคันได้ลงตัวหรือเปล่า แต่โดยรวมคาดว่าไม่มีปัญหาในการปรับจุดยึดในหลายๆส่วน จึงได้รูปแบบการวางแฟริ่งที่แน่นอนตามรูปครับ

ส่วนของแฟริ่งหน้า ซึ่งเป็นชิ้นเดียวกันกับแฟริ่งข้าง












การวางตำแหน่งของถังน้ำมันจะคงไว้ที่ตำแหน่งเดิม แตกต่างจากเดิมตรงที่ต้องสร้างถังน้ำมันใหม่ทั้งใบเพื่อให้สวมทับกับถังเดิม ส่วนเรื่องรูปทรงจะปรับให้ครอบกับถังเดิมแล้วมีความปราดเปรียวขึ้นตามรูปทรงของทั้งคัน ความจุน้ำมันจะลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงสบายใจเรื่องการเดินทางไกลได้







ช่วงท้ายมีการปรับโครงสร้างเล็กน้อย เพื่อให้สวมแฟริ่งส่วนท้ายแล้ว เข้ากับรูปทรงสปอร์ตพอดิบ พอดี พร้อมกับต้องทำเบาะคนซ้อนเพิ่ม











บังโคลนหน้าจับหุ้มเคฟล่า เคลือบเรซิ่นเสร็จสรรพ ทำการปรับสภาพผิวให้เรียบ หลังจากนั้นเคลือบเงาด้วยแลคเกอร์ได้บังโคลนใหม่ที่เงาๆ วิ้งๆ













ครอบถังหุ้มเคฟล่า และเคลือบเงาเช่นกันครับ
















วงล้อภายหลังการปรับสภาพ พ่นสีใหม่ เปลี่ยนยางใหม่เอี่ยม ใส่จานเบรคที่คัดสรรมาแล้ว ทั้งวงล้อหน้า และล้อหลังครับ










ชิ้นส่วนประกอบที่ทำการปรับสภาพ และลงสีใหม่












ปั้มเบรคล้างทำความสะอาด และลงสีพิเศษ เพื่อความสม่ำเสมอของเนื้อสี และยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น










ฝาครอบสเตอร์หน้า ปรับสภาพ หลังจากนั้นลงสีครับ
















สวิงอาร์มหลัง ปรับสภาพ และลงสีเช่นกันครับ















น๊อตและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ชุบซิงค์พร้อมประกอบครับ











ฝาครอบเครื่องปรับสภาพ ทำความสะอาด ลงสีเนียนๆครับ










ทิ้งทายไว้กับการนำสวิงอาร์มประกอบเข้ากับแฟรมหน้าครับ เหลือเพียงแต่ขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ การประกอบ และเก็บรายละเอียดในขั้นตอนสุดท้าย รวมทั้งการทดสอบขับขี่จริง คอยติดตามกันได้ในขั้นตอนสุดท้ายครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

2011 Suzuki GSR750

 

Suzuki GSR750 ปี 2011 ไ้ด้พัฒนารถจักรยานยนต์ ด้วยเครื่องยนต์อันทรงพลัง 749 ซีซี  กับตำแหน่งแห่งการขับขี่มั่นใจ สำหรับผู้ขับขี่ที่ชื่้นชอบการขับขี่แบบไดนามิกที่มีอัตราการเร่งที่ดี โครงสร้างออกแบบอย่างปราณีตตั้งแต่บังโคลนหน้า โคมไฟหน้า โช๊คอัพหัวกลับนวัตกรรมจากสนามแข่ง ผนวกกับเครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูง กระจกตัดแสง ถังน้ำมัน 17.5 ลิตร กับการวางตำแหน่งของผู้ขับขี่อย่างลงตัว และเพิ่มความมั่นใจในการเบรคด้วย ABS และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมาย

 

  

Specifications

Top speed    140mph
1/4-mile acceleration    11.2 secs
Power    105bhp
Torque    59ftlb
Weight    210kg
Seat height    815mm
Fuel capacity    17.5 litres
Average fuel consumption     45mpg
Tank range     170 miles
Insurance group     12
Engine size 749cc
Engine specification Liquid cooled inline four
Frame Steel twin spar
Front suspension adjustment 41mm inverted preload only
Rear suspension adjustment Single shock preload only
Front brakes 2x310mm discs two piston
Rear brake 240mm single piston
Front tyre size 120/70x17
Rear tyre size 180/55x17

ที่มา : http://www.ultimatemotorcycling.com/2011-suzuki-gsr-750-preview?utm_source=twitterfeed&utm_medium=twitter

Ducati 2011 1198SP


DUCATI 1198 มีการปรับปรุงทางด้านเทคโนโลยีมาตรฐานภายใต้รหัส 1198 พร้อมกับ DTC (Ducati Traction Control), DDA (Ducati Data Analyser) และ อุปกรณ์ภายใต้รหัส DQS (Ducati Quick Shift) ซึ่งติดตั้งเป็นมาตรฐานบน Ducati ในทุกรุ่น

สำหรับปี 2011 นั้นทาง Ducati มีการปรับปรุงจาก 1198 เป็น 1198 SP โดยใช้เทคโนโลยีที่ได้กล่าวมาอย่าง DTC, DQS, DDA, โช๊คอัพหน้า-หลัง Ohlins, ถังน้ำมันไฟเบอร์, ล้อแม็คคาร์บอนไฟเบอร์น้ำหนักเบา




ที่มา: http://www.visordown.com/motorcycle-news-new-bikes/ducati-launch-2011-1198sp/14455.html

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

[BAD001] NC30 to CBR1000RR 2007 (Part 1)

เป็นงานที่มุ่งปรับปรุงสภาพโดยรวมให้น่าใช้งานยิ่งขึ้น ทางเราได้เลือก HONDA VFR 400 (NC30) ขึ้นมาปรับปรุงรูปลักษณ์ สภาพเดิมภายนอกโดยเปลี่ยนแปลงปรับโฉมให้ใกล้เคียงกับ HONDA CBR1000RR 07 ทางเราจึงได้วางแผนปรับปรุงให้ดูทันสมัย มีเอกลักษณ์ และน่าใช้งานมากขึ้น ซึ่งขั้นตอนจะเริ่มจากคัดสรรอุปรณ์ที่มีคุณภาพ และเหมาะสม

เริ่มต้นการปรับสภาพรูปลักษณ์เบื้องต้น เพื่อดูความเป็นไปได้คร่าวๆ เพื่อให้พอเป็นแนวทางในการปรับสภาพรถให้เราได้ระดับหนึ่ง










ส่วนนี้เป็นสภาพเดิมของรถที่ได้มา ทางเราเลือก HONDA NC30 เพื่อเป็นต้นแบบในการปรับปรุง ในขั้นตอนเริ่มแรกทางเราจำเป็นต้องถออุปกรณ์ออกเกือบทั้งหมด ยกเว้นเครื่องยนต์ เพื่อทำการสำรวจสภาพ เพื่อวางแผนการปรับปรุง และสรรหาอะไหล่เพื่อทดแทนในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนถัดมาคือขั้นตอนการสำรวจอะไหล่ประกอบตัวรถ เพื่อนำมาปรับสภาพ รวมไปถึงการสรรหาอะไหล่เทียบเคียงเพื่อแทนของเก่าที่ไม่สามารถใช้งานได้ หรือใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จากการสำรวจก็พบว่ามีอยู่หลายชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องปรับสภาพ เริ่มจากแผงคอ การปรับสภาพที่เหมาะสมที่สุดของส่วนนี้ คือการทำความสะอาดและทำสีใหม่






จากสภาพฝาข้างเครื่องยนต์มีสีหลุดล่อน สภาพการทำงานของเครื่องยนต์สำรวจแล้วไม่มีอะไรเสียหาย มีเพียงสีที่ต้องปรับสภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องถอดเพื่อปรับสภาพใหม่หมดทั้งชุด









ปั้มเบรคหน้าเดิม สภาพมีคราบสกปรก สีหลุดล่อน ทางเราเลือกทำความสะอาดทั้งชิ้น พร้อมเปลี่ยนผ้าเบรคหน้าใหม่ทั้งหมด พร้อมกับปรับสภาพโดยการทำความสะอาดและ ลงสีพิเศษ เพื่อความสม่ำเสมอของเนื้อสี และเพื่อให้สีติดทนนานไม่หลุดล่อนระหว่างการใช้งาน เพราะปั้มเบรคหน้าโดยทั่วไปแล้ว จะมีการใช้งานที่ทรหดอยู่พอสมควร











ตัวโปรอาร์มหลัง พบความชำรุดภายในของแกนเพลาสำหรับยึดล้อหลัง เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจระหว่างการขับขี่ ต้องหาอะไหล่แทนเปลี่ยนใหม่ เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย









กระบอกโช๊คอัพหน้า ตัวจับแฮนด์ บาลานซ์โช๊ค ตัวครอบดุมล้อ และชิ้นส่วนประกอบ ทางเราส่งอโนไดด์สีทุกชิ้นส่วน แต่ละชิ้นส่วนทางเราเลือกโทนสีให้เข้ากับตัวรถ รวมไปถึงน๊อตประกอบเราส่งชุมซิงค์ หรือโครเมียม ชิ้นส่วนภายในชำรุดเสียหาย ทางเราเปลี่ยนใหม่ให้หมด












ตัวเฟรมรถทำความสะอาด ล้างปรับสภาพให้น่าใช้งานขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตัวเฟรมเดิมสภาพสมบูรณ์มาก ไม่มีข้อบกพร่อง ส่วนนี้จึงไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด









วงล้อแม็คหน้า และหลังไม่มีร่องรอยการชำรุด แตกเสียหาย ดังนั้นล้างและลงสีใหม่ทั้งหน้าและหลังครับ












สิ้นสุดกับการจัดการส่วนแรกที่ว่าด้วยเรื่องของการสำรวจข้อบกพรุ่ง เพื่อปรับปรุง หรือปรับสภาพ อะไหล่หลักๆ ของตัวรถ ตลอดจนเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ไม่สามารถใช้งานได้ และในขั้นตอนถัดไปจะพูดถึงการคัดสรรชิ้นส่วนอะไหล่ประกอบของทางเรา ติดตามกันได้ในส่วนถัดไป --------->

[BAD001] NC30 to CBR1000RR 2007 (Part 2)

จากส่วนแรกที่พูดถึงการสำรวจข้อบกพร่อง เพื่อปรับสภาพ ตลอดจนเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ไม่สามารถใช้งานได้ และในขั้นตอนต่อไปนี้ จะพูดถึงการคัดสรรชิ้นส่วนของทางเรา ว่ามีขั้นตอนการสรรหาอย่างไรบ้าง กระบวนการในขั้นตอนแรก สามารถติดตามอ่านได้ที่นี่--------->

เริ่มจากไฟหน้า ของเก่าสภาพชำรุดจากการใช้งานมานา หลอดไฟบางหลอดขาดไปแล้ว ทางร้านเราเลือกเป็นไฟหน้าของตัว CBR 1000 เบิกใหม่แบบใสๆ ไปเลย









ไฟท้ายเดิมไม่เป็นที่ดึงดูดใจพอ ทางเราเลือกไฟท้าย LED พร้อมไฟเลี้ยวในตัว หล่อ หล่อ มาใส่แทนของเดิม ที่ไม่ค่อยเร้าใจนัก










เพื่อไม่ให้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทางเราเลือกใช้กระจกมองข้างทรงสปอร์ต พร้อมไฟเลี้ยวในตัว แต่ยังคงการใช้งานได้ดีเยี่ยม










อีกส่วนเสริมความหล่อของรถก็คือท่อ สำหรับส่วนนี้ทางเราจะแหวกแนวออกจากต้นแบบเดิมไปซักนิด โดยไม่ได้ทำท่อให้ออกใต้เบาะ ตามวัตถุประสงค์ครับว่าแปลงแล้วต้องใช้ได้ดีเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิม เนื่องจากคอท่อเดิมของ NC30 คันนี้เป็นคอท่อแต่งของ RVF NC35 ซึ่งก็ดีมากๆอยู่แล้ว จึงไม่ต้องการที่จะแก้ตรงนี้ใหม่ เพราะหากแก้ให้ท่อออกใต้เบาะแล้ว จะมีผลกับอัตราเร่งของรถไปด้วย




แล้วก็ตัวนี้ครับ fairing bracket หรือหนวดกุ้งยึดหน้ากากแฟริ่ง กับกระจกมองข้าง เพราะของเดิมที่มากับรถใช้การกับแฟริ่งที่จะนำมาสวมใหม่ไม่ได้เลย จึงต้องเบิกใหม่เพื่อใช้กับแฟริ่งชุดใหม่ครับ












เนื่องด้วยเรือนไมล์เก่า ขี้ฝุ่นเกาะกรัง เข็มไมล์เหลืองทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เราเลยเลือกไมล์ให้เข้ากับสภาพโดยรวมของรถ ราคาประหยัด และใช้งานได้ดีครับ เค้าบอกกันว่าแบรนดนี้คุณภาพสามารถเทียบเคียงกับ Takekawa เลยทีเดียว








จานเบรคหน้าเดิมสึกหรอไปมากพอสมควร จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่หมดทั้งคู่ ทางเราเลือกใช้ ARASHI แทนจานเบรคเดิม
จานเบรคหลังเช่นกันครับ ของเ่ก่าสภาพสึกหรอกเ่ช่นกัน จับเปลี่ยนใหม่โดยเลือกใช้ของ Arashi เช่นเดียวกับคู่เบรคหน้า ตรงรุ่นครับ












ส่วนที่กล่าวมาทั้งหมดคือหนึ่งในขั้นตอนการสรรหาวัสดุที่เปลี่ยนจากของเดิมทีี่ใช้งานได้ไม่เต็มที่ หรือใช้งานไม่ได้แล้ว นอกเหนือจากที่ได้นำเสนอ ทางเราได้ปรับปรุงหรือปรับสภาพ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวรถควบคู่ไปด้วย เช่น ทำความสะอาดสวิตไฟตามจุดต่างๆ ปรับเปลี่ยนสายไฟให้เรียบร้อย และอื่นๆ อีกมากครับ ในขั้นตอนต่อไปจะพูดถึงขั้นตอนการปรับสภาพในส่วนของแฟริ่งล้วนๆครับ ติดตามกันได้ในส่วนต่อไปครับ